วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558



บทที่ 8 มหาเวสสันดรชาดก


 มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก
ผู้แต่ง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กวีสำนักวัดถนน
กวีวัดสังขจาย
พระเอ่านต่อ



บทที่ 7 มงคลสูตรคำฉันท์

 มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น
ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง
ความเป็นมาอ่านต่อ



บทที่ 6 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน
ซึ่งกล่าวถึงชีวิตแลอ่านต่อ



บทที่ 5 หัวใจชายหนุ่ม


ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์
 
       หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน 

พระบา.อ่านต่อ



บทที่ 4 นิราศนรินทร์คำโคลง


นิราศนริทร์คำโคลง  เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การกล่าวคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก  ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์  นิราศนริทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
ผู้แต่ง
นรินทรธิเบศร์ (อิน)
ลักษณะคำประพันธ์
ร่ายสุภาพ  จำนวน 1 บท  และโคลงสี่สุภาพ  143 บท
จุดมุ่งหมายในการแต่งคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก
ความเป็นมา
นิราศ  เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบันอ่านต่อ



บทที่ 3 นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

  ดังนั้น พระเจ้าตริวกรมเสนจึงได้เสด็จกลับไปที่ต้นอโศกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจับตัวเวตาล เมื่อจับได้แล้วก็ทรงเหวี่ยงขึ้นบนพระอังสา เสด็จมุ่งหน้าไปยังที่นัดพบกับโยคีโดยไม่ปริปากใด ๆ เลย เวตาลเห็นพระราชาทรงเงียบอยู่ก็กล่าวขึ้นว่า
            "ราชะ ตอนนี้พระองค์ก็เหน็ดเหนื่อยมาแล้วมากเต็มที ดังนั้นข้าจะเล่านิทานสนุก ๆ ให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง  เพื่อจะได้ขับไล่ความเหน็ดเหนื่อยให้ประลาตนาการไป โปรดฟังเถิด"

            แต่ปางบรรพ์ยังมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ทรงนามว่า วีรพาหุ เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญอย่างยอดยิ่ง คำสั่งของพระองค์นั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พระราชาทุกแว่นแคว้นจะต้องรับไว้เหนือเศียรเกล้า ทรงครองราชย์ ณ นครอันโอ่อ่า ชื่อนครอนงคปุระ ในนครนี้มีเศรษฐีผู้หนึ่งอาศัยอยู่ชื่อ อรรถทัตต์ ไวศยบดี(หัวหน้าพ่ออ่านต่อ




บทที่ 2 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง


เมื่อเมืองขึ้นยกทัพมาถึงเมืองกะหมังกุหนิงท้าวกะหมังกุหนิงออกมต้อนรับ พระอนุชาของท้าวกะหมังกุหนิง ทั้ง ๒ พระองค์ 
คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน ก็ยกทัพมา  เมื่อทั้งสองรู้ถึงสาเหตุที่ท้าวกะหมังกุหนิงจะยกทัพไปแย่งชิงนางบุษบา 
ก็ทรงห้ามปราม โดยให้เหตุผลว่า พระธิดาที่สวย ใช่จะมีแต่พระธิดาของท้าวดาหา  เมืองอื่นก็มี  และอีกประการหนึ่ง 
เมืองดาหาเป็นเมืองใหญ่ วงศ์อสัญแดหวา มีเมืองพี่เมืองน้องที่เก่งกล้า   ถ้าทำศึกกับเมืองดาหา ก็เท่ากับทำศึกกับวงศ์อสัญแดหวา ซึ่งเปรียบดังแสงอาทิตย์ ส่วนเมืองกะหมังกุหนิงเปรียบเหมือนหิ่งห้อย      แต่ท้าวกะหมังกุหนิงไม่เชื่อพระอนุชา
ทั้งสอง เพราะรักลูก เกรงว่าถ้าวิหยาสะกำอ่านต่อ



บทที่ 1 คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑. ความเป็นมา
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ  :  อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา ,  พุทธัง ภะคะวันตัง อภิเต สวาอ่านต่อ

                   

       บทนำ          


 การวิจักษ์วรรณคดี คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด  มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร  มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ  ในระดับต้นๆ เป็นการบอกกล่าวความคิดเห็นส่วนตัวว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านอย่างไร  บางครั้งอาจจะติชมว่าดีหรือไม่ดีด้วยแต่ผู้อ่านที่ดีจะต้องไม่หยุดอยู่เพียงนั้น  ควรจะถามตนเองต่อไปว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ และที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด

แนวทางการพิจารณารูปแบบวรรณคดี
วรรณคดีร้อยกรอง
        1. รูปแบบคำประพันธ์ หมายถึง ลักษณะร่วมของงานประพันธ์อันเป็นวิถีทางที่ผู้ประพันธ์เลือกใช้ในการนำเสนอเนื้อหาไปสู่ผู้อ่านรูปแบบคำประพันธ์ได้ เช่น กาพย์ กลอน โคลง ร่าย ฉันท์ เป็นต้น ลักษณะคำประพันธ์แต่ละชนิด กวีจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาได้ดังนี้
        1.1 กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่กวีมักใช้แต่งเอ่านต่อ